สภาพสังคม

1. ขนาดและที่ตั้ง

       เทศบาลตำบลบัลลังก์ เป็นตำบลที่ตั้งอยู่ในเขตอำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา มีพื้นที่ทั้งหมดตามประกาศกระทรวงมหาดไทยประมาณ 54,046 ไร่ หรือ 85.346 ตารางกิโลเมตร ขนาดของพื้นที่กว้างใหญ่เป็นอันดับหนึ่งของอำเภอโนนไทย โดยอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอโนนไทย ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือเป็นระยะทางประมาณ 17 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้เป็นระยะทางประมาณ 40 กิโลเมตร

2. อาณาเขต

ตำบลบัลลังก์มีอาณาเขตติดต่อกับตำบลต่างๆ ดังนี้

– ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลสระพระ อำเภอพระทองคำ

– ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลบ้านวัง อำเภอโนนไทย

– ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลพังเทียม อำเภอพระทองคำ

– ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลด่านนอก ตำบลหนองบัวตะเกียด ตำบลหนองบัวละครและตำบลโนนเมืองพัฒนา อำเภอด่านขุนทด

 

3.ลักษณะภูมิประเทศ

     ภูมิประเทศของตำบลบัลลังก์ มีลักษณะรูปร่างกว้างเป็นแนวยาวจากทิศใต้ขึ้นไปยังทิศเหนือ มีถนน ลาดยางของกรมชลประทานตัดผ่านตอนกลางของตำบล ด้านตะวันออก – ตะวันตก (ผ่านหมู่ที่ 8 หมู่ที่ 15 หมู่ที่ 4 และหมู่ที่ 10) สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย ใช้ทำนา ปลูกพืชไร่ และไม้ผล ส่วนสภาพพื้นที่ที่มีลักษณะราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบใช้ทำนา มีการทำนาบริเวณตอนใต้ของพื้นที่ มีแหล่งน้ำที่สำคัญคือ อ่างเก็บน้ำลำเชียงไกร อ่างเก็บน้ำหนองกก บึงโนนเจดีย์ หนองท่ารอ หนองสรวงและหนองเดิ่น

พื้นที่
เทศบาลตำบลบัลลังก์มีพื้นที่ตำบลตามประกาศกระทรวงมหาดไทยประมาณ 54,046 ไร่ หรือ 85.346 ตารางกิโลเมตร เป็นตำบลที่มีขนาดพื้นที่มากที่สุดในอำเภอโนนไทย โดยมีเนื้อที่การใช้ประโยชน์แยกเป็นรายหมู่บ้านดังนี้

สภาพการใช้ที่ดิน

เนื้อที่

ไร่

ร้อยละ

พื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง
(ชุมชนและสถานที่ราชการ)

2,486

4.60

นาข้าว

27,807

51.44

พืชไร่ผสม

12

0.02

ข้าวโพด

14,125

26.13

อ้อย

2,465

4.56

มันสำปะหลัง

445

0.82

พริก

62

0.11

ไม้ยืนต้นผสม

61

0.11

ยูคาลิปตัส

165

0.31

สะเดา

46

0.09

มะม่วง

15

0.03

โรงเรืองเลี้ยงสัตว์

487

0.90

สถานเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

94

0.17

ป่าเสื่อมโทรม

506

0.94

แหล่งน้ำ(แหล่งน้ำธรรมชาติและแหล่งน้ำที่สร้างขึ้น)

2,745

5.09

พื้นที่เบ็ดเตล็ด ( พื้นที่ลุ่ม  ไม้ละเมาะ และทุ่งหญ้า )

2,525

4.68

รวม

54,046

100.00

ข้อมูลจาก กองส่งเสริมการเกษตร เทศบาลตำบลบัลลังก์
แหล่งอ้างอิง เอกสารวิชาการเลขที่ 11( 09.07 )/11/51
สำนักสำรวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

สภาพดิน

1. ดินค่อนข้างเป็นทรายที่ลุ่ม
2. ดินค่อนข้างเป็นทรายที่ดอน
3. ดินทรายจัดที่ดอน
4. ดินเค็มและค่อนข้างเป็นทรายที่ลุ่ม

4. ลักษณะภูมิอากาศ

       ตำบลบัลลังก์จัดอยู่ในลักษณะภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อน ( Tropical monsoon climate ) ฤดูกาลของตำบลบัลลังก์ เมื่อพิจารณาจากลักษณะลมฟ้าอากาศของประเทศไทย แบ่งออกได้เป็น 3 ฤดู ดังนี้

      1. ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม เป็นช่วงที่ลมมรสุม
ตะวันตกเฉียงใต้ซึ่งเป็นลมร้อนและชื้นจากมหาสมุทรอินเดีย พัดปกคลุมประเทศไทย และร่องความกดอากาศต่ำที่พาดผ่านบริเวณภาคใต้ของประเทศไทย จะเลื่อนขึ้นมาพาดผ่านบริเวณประเทศไทยตอนบน คือภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง ในระยะนี้จึงมีความชุ่มชื้นมาก ทำให้มีฝนตกมาก ตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมจนถึงกลางเดือนตุลาคม หลังจากนั้นฝนจะเริ่มลดน้อยลงอย่างรวดเร็ว

       2. ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่กลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นลม
มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งความกดอากาศสูงจากประเทศจีนที่มีคุณสมบัติหนาวเย็นและแห้ง จะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทย บริเวณจังหวัดนครราชสีมา อำเภอโนนไทย ทำให้ตำบลบัลลังก์มีอากาศหนาวเย็นและแห้งแล้ง ในบางปีฤดูหนาวอาจเริ่มต้นช้ากว่ากำหนดนี้ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความกดอากาศสูงจากประเทศจีนที่แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทย ถ้าแผ่ลงมาช้าฤดูหนาวจะเริ่มประมาณปลายเดือนตุลาคมเป็นต้นไป

       3. ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนพฤษภาคม ในระยะนี้
เป็นช่วงว่างของฤดูมรสุม อากาศจะร้อนอบอ้าวทั่วไป และในเดือนเมษายนจะเป็นเดือนที่มีอากาศร้อนอบอ้าวมากที่สุด

5. การปกครองและการบริหาร

เทศบาลตำบลบัลลังก์ แบ่งการปกครองเป็น 19 หมู่บ้าน ดังนี้

หมู่ที่ 1 บ้านโนนเจดีย์ หมู่ที่ 11 บ้านบัลลังก์

หมู่ที่ 2 บ้านหนองแวง หมู่ที่ 12 บ้านเมืองเก่า

หมู่ที่ 3 บ้านคูเมือง หมู่ที่ 13 บ้านโกรกหอย

หมู่ที่ 4 บ้านกุดเวียน หมู่ที่ 14 บ้านสระขุด

หมู่ที่ 5 บ้านน้อย หมู่ที่ 15 บ้านสระตะเฆ่หิน

หมู่ที่ 6 บ้านกระดาน หมู่ที่ 16 บ้านโนนทองพัฒนา

หมู่ที่ 7 บ้านดอนยาว หมู่ที่ 17 บ้านทำนบพัฒนา

หมู่ที่ 8 บ้านสระตะเฆ่ หมู่ที่ 18 บ้านคูเมืองใหม่

หมู่ที่ 9 บ้านหนองแจง หมู่ที่ 19 บ้านโนนเจดีย์พัฒนา

หมู่ที่ 10 บ้านโพธิ์ตาสี

ประชากร

จำนวนประชากรและความหนาแน่นประชากร  ซึ่งจำแนกเป็นรายหมู่บ้าน  ได้ดังตารางต่อไปนี้

ที่

บ้าน

ข้อมูล  ณ  เดือน   เมษายน  พ.ศ. 2552

ข้อมูล  ณ  เดือน   กันยายน พ.ศ.  2552

จำนวนครัวเรือน

จำนวนครัวเรือน

จำนวนครัวเรือน

จำนวนครัวเรือน

ชาย

หญิง

รวม

ชาย

หญิง

รวม

1

โนนเจดีย์

140

231

235

466

140

232

233

465

2

หนองแวง

148

301

310

611

148

296

311

607

3

คูเมือง

176

399

430

829

177

399

430

829

4

กุดเวียน

62

112

103

215

62

111

102

213

5

น้อย

74

159

180

339

74

158

183

341

6

กระดาน

113

231

254

485

113

233

251

484

7

ดอนยาว

67

143

125

268

68

141

120

261

8

สระตะเฆ่

234

457

459

916

234

449

458

907

9

หนองแจง

59

166

161

327

59

166

161

327

10

โพธิ์ตาสี

175

384

421

805

175

384

417

801

11

บัลลังก์

122

205

236

441

122

206

234

440

12

เมืองเก่า

192

361

393

754

192

361

398

759

13

โกรกหอย

61

121

117

238

61

120

112

232

14

สระขุด

48

76

75

151

48

79

77

156

15

สระตะเฆ่หิน

125

260

294

554

125

268

293

561

16

โนนทองพัฒนา

52

141

149

290

52

141

149

290

17

ทำนบพัฒนา

31

66

78

144

31

66

78

144

18

คูเมืองใหม่

104

205

213

418

105

205

216

421

19

โนนเจดีย์พัฒนา

95

189

190

379

95

187

188

375

รวม

2,078

4,207

4,423

8,630

2,081

4,202

4,411

8,613

ข่าว ณ วันที่ 04 ก.ย. 63 เวลา 10:01 น. โดย super