สภาพสังคม
1. ขนาดและที่ตั้ง
เทศบาลตำบลบัลลังก์ เป็นตำบลที่ตั้งอยู่ในเขตอำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา มีพื้นที่ทั้งหมดตามประกาศกระทรวงมหาดไทยประมาณ 54,046 ไร่ หรือ 85.346 ตารางกิโลเมตร ขนาดของพื้นที่กว้างใหญ่เป็นอันดับหนึ่งของอำเภอโนนไทย โดยอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอโนนไทย ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือเป็นระยะทางประมาณ 17 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้เป็นระยะทางประมาณ 40 กิโลเมตร
2. อาณาเขต
ตำบลบัลลังก์มีอาณาเขตติดต่อกับตำบลต่างๆ ดังนี้
– ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลสระพระ อำเภอพระทองคำ
– ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลบ้านวัง อำเภอโนนไทย
– ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลพังเทียม อำเภอพระทองคำ
– ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลด่านนอก ตำบลหนองบัวตะเกียด ตำบลหนองบัวละครและตำบลโนนเมืองพัฒนา อำเภอด่านขุนทด
3.ลักษณะภูมิประเทศ
ภูมิประเทศของตำบลบัลลังก์ มีลักษณะรูปร่างกว้างเป็นแนวยาวจากทิศใต้ขึ้นไปยังทิศเหนือ มีถนน ลาดยางของกรมชลประทานตัดผ่านตอนกลางของตำบล ด้านตะวันออก – ตะวันตก (ผ่านหมู่ที่ 8 หมู่ที่ 15 หมู่ที่ 4 และหมู่ที่ 10) สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย ใช้ทำนา ปลูกพืชไร่ และไม้ผล ส่วนสภาพพื้นที่ที่มีลักษณะราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบใช้ทำนา มีการทำนาบริเวณตอนใต้ของพื้นที่ มีแหล่งน้ำที่สำคัญคือ อ่างเก็บน้ำลำเชียงไกร อ่างเก็บน้ำหนองกก บึงโนนเจดีย์ หนองท่ารอ หนองสรวงและหนองเดิ่น
พื้นที่
เทศบาลตำบลบัลลังก์มีพื้นที่ตำบลตามประกาศกระทรวงมหาดไทยประมาณ 54,046 ไร่ หรือ 85.346 ตารางกิโลเมตร เป็นตำบลที่มีขนาดพื้นที่มากที่สุดในอำเภอโนนไทย โดยมีเนื้อที่การใช้ประโยชน์แยกเป็นรายหมู่บ้านดังนี้
สภาพการใช้ที่ดิน |
เนื้อที่ |
|
ไร่ |
ร้อยละ |
|
พื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง |
2,486 |
4.60 |
นาข้าว |
27,807 |
51.44 |
พืชไร่ผสม |
12 |
0.02 |
ข้าวโพด |
14,125 |
26.13 |
อ้อย |
2,465 |
4.56 |
มันสำปะหลัง |
445 |
0.82 |
พริก |
62 |
0.11 |
ไม้ยืนต้นผสม |
61 |
0.11 |
ยูคาลิปตัส |
165 |
0.31 |
สะเดา |
46 |
0.09 |
มะม่วง |
15 |
0.03 |
โรงเรืองเลี้ยงสัตว์ |
487 |
0.90 |
สถานเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ |
94 |
0.17 |
ป่าเสื่อมโทรม |
506 |
0.94 |
แหล่งน้ำ(แหล่งน้ำธรรมชาติและแหล่งน้ำที่สร้างขึ้น) |
2,745 |
5.09 |
พื้นที่เบ็ดเตล็ด ( พื้นที่ลุ่ม ไม้ละเมาะ และทุ่งหญ้า ) |
2,525 |
4.68 |
รวม |
54,046 |
100.00 |
ข้อมูลจาก กองส่งเสริมการเกษตร เทศบาลตำบลบัลลังก์
แหล่งอ้างอิง เอกสารวิชาการเลขที่ 11( 09.07 )/11/51
สำนักสำรวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สภาพดิน
1. ดินค่อนข้างเป็นทรายที่ลุ่ม
2. ดินค่อนข้างเป็นทรายที่ดอน
3. ดินทรายจัดที่ดอน
4. ดินเค็มและค่อนข้างเป็นทรายที่ลุ่ม
4. ลักษณะภูมิอากาศ
ตำบลบัลลังก์จัดอยู่ในลักษณะภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อน ( Tropical monsoon climate ) ฤดูกาลของตำบลบัลลังก์ เมื่อพิจารณาจากลักษณะลมฟ้าอากาศของประเทศไทย แบ่งออกได้เป็น 3 ฤดู ดังนี้
1. ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม เป็นช่วงที่ลมมรสุม
ตะวันตกเฉียงใต้ซึ่งเป็นลมร้อนและชื้นจากมหาสมุทรอินเดีย พัดปกคลุมประเทศไทย และร่องความกดอากาศต่ำที่พาดผ่านบริเวณภาคใต้ของประเทศไทย จะเลื่อนขึ้นมาพาดผ่านบริเวณประเทศไทยตอนบน คือภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง ในระยะนี้จึงมีความชุ่มชื้นมาก ทำให้มีฝนตกมาก ตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมจนถึงกลางเดือนตุลาคม หลังจากนั้นฝนจะเริ่มลดน้อยลงอย่างรวดเร็ว
2. ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่กลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นลม
มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งความกดอากาศสูงจากประเทศจีนที่มีคุณสมบัติหนาวเย็นและแห้ง จะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทย บริเวณจังหวัดนครราชสีมา อำเภอโนนไทย ทำให้ตำบลบัลลังก์มีอากาศหนาวเย็นและแห้งแล้ง ในบางปีฤดูหนาวอาจเริ่มต้นช้ากว่ากำหนดนี้ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความกดอากาศสูงจากประเทศจีนที่แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทย ถ้าแผ่ลงมาช้าฤดูหนาวจะเริ่มประมาณปลายเดือนตุลาคมเป็นต้นไป
3. ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนพฤษภาคม ในระยะนี้
เป็นช่วงว่างของฤดูมรสุม อากาศจะร้อนอบอ้าวทั่วไป และในเดือนเมษายนจะเป็นเดือนที่มีอากาศร้อนอบอ้าวมากที่สุด
5. การปกครองและการบริหาร
เทศบาลตำบลบัลลังก์ แบ่งการปกครองเป็น 19 หมู่บ้าน ดังนี้
หมู่ที่ 1 บ้านโนนเจดีย์ หมู่ที่ 11 บ้านบัลลังก์
หมู่ที่ 2 บ้านหนองแวง หมู่ที่ 12 บ้านเมืองเก่า
หมู่ที่ 3 บ้านคูเมือง หมู่ที่ 13 บ้านโกรกหอย
หมู่ที่ 4 บ้านกุดเวียน หมู่ที่ 14 บ้านสระขุด
หมู่ที่ 5 บ้านน้อย หมู่ที่ 15 บ้านสระตะเฆ่หิน
หมู่ที่ 6 บ้านกระดาน หมู่ที่ 16 บ้านโนนทองพัฒนา
หมู่ที่ 7 บ้านดอนยาว หมู่ที่ 17 บ้านทำนบพัฒนา
หมู่ที่ 8 บ้านสระตะเฆ่ หมู่ที่ 18 บ้านคูเมืองใหม่
หมู่ที่ 9 บ้านหนองแจง หมู่ที่ 19 บ้านโนนเจดีย์พัฒนา
หมู่ที่ 10 บ้านโพธิ์ตาสี
ประชากร
จำนวนประชากรและความหนาแน่นประชากร ซึ่งจำแนกเป็นรายหมู่บ้าน ได้ดังตารางต่อไปนี้
ที่ |
บ้าน |
ข้อมูล ณ เดือน เมษายน พ.ศ. 2552 |
ข้อมูล ณ เดือน กันยายน พ.ศ. 2552 |
||||||
จำนวนครัวเรือน |
จำนวนครัวเรือน |
จำนวนครัวเรือน |
จำนวนครัวเรือน |
||||||
ชาย |
หญิง |
รวม |
ชาย |
หญิง |
รวม |
||||
1 |
โนนเจดีย์ |
140 |
231 |
235 |
466 |
140 |
232 |
233 |
465 |
2 |
หนองแวง |
148 |
301 |
310 |
611 |
148 |
296 |
311 |
607 |
3 |
คูเมือง |
176 |
399 |
430 |
829 |
177 |
399 |
430 |
829 |
4 |
กุดเวียน |
62 |
112 |
103 |
215 |
62 |
111 |
102 |
213 |
5 |
น้อย |
74 |
159 |
180 |
339 |
74 |
158 |
183 |
341 |
6 |
กระดาน |
113 |
231 |
254 |
485 |
113 |
233 |
251 |
484 |
7 |
ดอนยาว |
67 |
143 |
125 |
268 |
68 |
141 |
120 |
261 |
8 |
สระตะเฆ่ |
234 |
457 |
459 |
916 |
234 |
449 |
458 |
907 |
9 |
หนองแจง |
59 |
166 |
161 |
327 |
59 |
166 |
161 |
327 |
10 |
โพธิ์ตาสี |
175 |
384 |
421 |
805 |
175 |
384 |
417 |
801 |
11 |
บัลลังก์ |
122 |
205 |
236 |
441 |
122 |
206 |
234 |
440 |
12 |
เมืองเก่า |
192 |
361 |
393 |
754 |
192 |
361 |
398 |
759 |
13 |
โกรกหอย |
61 |
121 |
117 |
238 |
61 |
120 |
112 |
232 |
14 |
สระขุด |
48 |
76 |
75 |
151 |
48 |
79 |
77 |
156 |
15 |
สระตะเฆ่หิน |
125 |
260 |
294 |
554 |
125 |
268 |
293 |
561 |
16 |
โนนทองพัฒนา |
52 |
141 |
149 |
290 |
52 |
141 |
149 |
290 |
17 |
ทำนบพัฒนา |
31 |
66 |
78 |
144 |
31 |
66 |
78 |
144 |
18 |
คูเมืองใหม่ |
104 |
205 |
213 |
418 |
105 |
205 |
216 |
421 |
19 |
โนนเจดีย์พัฒนา |
95 |
189 |
190 |
379 |
95 |
187 |
188 |
375 |
รวม |
2,078 |
4,207 |
4,423 |
8,630 |
2,081 |
4,202 |
4,411 |
8,613 |